ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 618 วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 157 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 3 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

      บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การศึกษา นับเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคมได้ เนื่องจากการศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเอง ด้านต่าง ๆ ตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่การวางรากฐานพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่แรกเกิด การพัฒนาศักยภาพและวัดความสามารถด้านต่างๆที่จะดำรงชีพและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลง รวมเป็นพลังสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนได้ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2557 : 12) ซึ่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มาตรา 22 ได้กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ฉะนั้น ครูผู้สอน จะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็น ผู้นำไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียน ในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตนเอง การจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่และเรียนรู้ได้จากสื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชน เน้นสื่อที่ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ลักษณะของสื่อการเรียนที่จะนำมาใช้ ในการจัดการเรียนรู้ ควรมีความหลากหลาย ทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีและสื่ออื่นๆ และช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่า ชวนติดตาม เข้าใจง่ายและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการใช้สื่อการเรียนรู้ เป็นไปตามแนวทางการเรียนรู้และพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง (กระทรวงศึกษาธิการ,2563 : 18) ซึ่งสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ที่ได้กำหนดได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ไว้ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 3) เพื่อพัฒนาสังคมไทย ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง ตามกรอบยุทธศาสตร์ 6 ด้าน คือ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ 2) การผลผลิตและพัฒนากำลังคนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4) การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา 5) การจัดการศึกษาเพื่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา โดยมี 5 เป้าหมาย คือ 1) การเข้าถึงการศึกษา (Access) 2) ความเท่าเทียม (Equity) 3) คุณภาพ (Quality) 4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และ 5) ตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) โดยมีผลลัพธ์ คือ คนไทยมีทักษะที่สำคัญของประชากรในศตวรรษที่ 21 คือ 3R8C ประกอบด้วย 3R ได้แก่ 1) Reading : อ่านออก 2) (W)Riting : เขียนได้ 3) (A)Rithmetic : คิดเลขเป็น และ 8C ได้แก่ 1) Critical thinking and problem solving : ทักษะการคิดวิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ปัญหาได้ 2) Creativity and innovation : ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม 3) Cross-cultural understanding : ความเข้าใจในความแตกต่างและกระบวนการคิดของแต่ละวัฒนธรรม 4) Collaboration teamwork and leadership : ความสามารถในการร่วมมือกันทำงานเป็นทีม และมีภาวะความเป็นผู้นำ 5) Communication information and media literacy : ทักษะในการสื่อสารข้อมูล และการรู้เท่าทันสื่อ 6) Computing and IT literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และความเข้าใจในเทคโนโลยี 7) Career and learning skills : ทักษะด้านอาชีพและความสามารถในการเรียนรู้ และ 8) Compassion : ความมีเมตตากรุณา มีคุณธรรม รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมไปถึงการมีระเบียบวินัย (กระทรวงศึกษาธิการ,2560 : ฉ)

      การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับ แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามลำดับ ดังต่อไปนี้ 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2. หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน พ.ศ. 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) 3. เอกสารเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 4. เอกสารเกี่ยวกับหลักการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 5. เอกสารเกี่ยวกับการสร้างแบบฝึกทักษะ 6. เอกสารเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 7. เอกสารเกี่ยวกับการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 8. เอกสารเกี่ยวกับความพึงพอใจ 9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

      บทที่ 3 วิธีดำเนินการทดลอง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้นำเสนอผลวิธีดำเนินการทดลอง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

      บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีรายละเอียดในแต่ละตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการ วิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

      บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้นำเสนอผลวิธีดำเนินการทดลองโดยมีรายละเอียด กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จำนวน 4 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน เวลาเรียนจำนวน 20 ชั่วโมง 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ และ 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) คำถามปลายเปิดจำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) หาค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ค่าร้อยละ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test Dependent) 3) หาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากแบบสอบความความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) หาค่าเฉลี่ยจากคะแนนทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากแบบฝึกทักษะ ชุดที่ 1 – 4 แล้วจัดลำดับผลการใช้ แบบฝึกทักษะและการปรับปรุงพัฒนาต่อไป

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
สุดารัตน์ สารณะ
เทศบาลเขาชัยสน

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
ถนนเลิี่ยงเมืองพิษณุโลก-สุโขทัย ต.ท่าทอง จ.พิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ 65000
โทร.055-267235 โทรสาร.055-267234 e-Mail : sec39pl@hotmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ] ©พัฒนาโปรแกรมโดย ดร.อภิวัฒน์ กันศรีเวียง V2.2565