ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 623 วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 2630 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 11 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะอาชีพ และส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ด้าน หนึ่งนักเรียน หนึ่งอาชีพ : มีงานทำ - มีอาชีพ

      พระบาทสมเด็จพระปรมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐) ทรงสืบสานพระราชปณิธาน ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) เพื่อประโยชน์ของประชาชนขาวไทยทั้งปวง คือ การสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง จึงทรงมีพระบรมราโชบายด้านการศึกษาพื้นฐานแก่ผู้เรียน ๔ ด้าน กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาสที่ ๑๐ มาเป็นหลักในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับหน่วยงานในสังกัดนำไปใช้ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืนตามรอยพระยุคลบาทอย่างเป็นรูปธรรมทั้ง ๔ ด้าน ประกอบด้วย (๑) การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง (๒) การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง - มีคุณธรรม (๓) การมีงานทำ - มีอาชีพ และ (๔) การเป็นพลเมืองดี (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, มปป.) หนึ่งผู้เรียน หนึ่งอาชีพ : มีงานทำ – มีอาชีพ เป็นกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียนให้พัฒนาสมรรถนะของตนเองและสามารถปรับประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ มี ๔ องค์ประกอบ คือ ๑) การเสี้ยงดูลูกหลานในครอบครัว หรือการฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่งให้เด็กและ เยาวชน รักงานสู้งาน ทำงานจนสำเร็จ ๒) การฝึกฝนอบรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็นและ มีงานทำในที่สุด ๓) ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตรมีอาชีพ มีงานทำจนสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว และ ๔) ทักษะชีวิต เพื่อให้การขับเคลื่อนและการดำเนินกิจกรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงกำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ การเลี้ยงดูลูกหลานในครอบครัว หรือการฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่งให้เด็กและเยาวชน รักงานสู้งาน ทำงานจนสำเร็จ หมายถึง ครอบครัวหรือสถานศึกษาสร้างความตระหนักให้ผู้เรียนเป็นผู้รักงาน สู้งานและทำงานจนสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย การฝึกฝนอบรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็นและมีงานทำในที่สุด หมายถึง จัดหลักสูตรให้ผู้เรียนสู่เส้นทางอาชีพที่สนใจได้ พร้อมบอกแนวทางในการประกอบอาชีพในโลกปัจจุบันได้และมีสมรรถนะพื้นฐานในการประกอบอาชีพที่สนใจได้ ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตรมีอาชีพ มีงานทำ จนสามารถเลี้ยงตัวเอง และครอบครัว หมายถึง ผู้เรียนมีสมรรถนะพื้นฐานในการประกอบอาชีพที่สนใจได้ และเข้าร่วมกิจกรรมฝึกทักษะอาชีพ ตามความถนัดและความสนใจของตนเอง ทักษะชีวิต เป็นความสามารถของบุคคลที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, มปป.) แม้สถานการณ์โควิดจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จริงๆ แล้วโรคภัยก็ยังอยู่กับเรา รวมถึงผลกระทบจากโรคระบาดที่ส่งผลเป็นกว้าง จนทำให้เศรษฐกิจฝืดเคืองไปทั่วทุกหัวระแหง ลำพังการเป็นมนุษย์เงินเดือนในยุคที่ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างน่าใจหาย อาจทำให้สภาพคล่องทางการเงินของพนักงานออฟฟิศบางคนต้องสั่นคลอน ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะช่วยพยุงเงินในกระเป๋าให้ขานรับกับสภาวะเศรษฐกิจ ก็คือการหาอาชีพเสริมหลังเลิกงาน โรงเรียนชุมแสงสงคราม “อุดรคณารักษ์อุปถัมภ์” จึงจัดทำโครงการพัฒนาทักษะอาชีพ และส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักการเรียนรู้ทักษะชีวิต และทักษะพัฒนาอาชีพ ฝึกทักษะกระบวนการคิดในการทำงานของนักเรียน อีกทั้งยังเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการสร้า ความสามารถพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพให้แก่เด็กและเยาวชน และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ถือเป็นการวางแผนการดำรงชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้กับผู้เรียน

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
ดร.ลภัสรดา จูเมฆา
ชุมแสงสงคราม

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
ถนนเลิี่ยงเมืองพิษณุโลก-สุโขทัย ต.ท่าทอง จ.พิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ 65000
โทร.055-267235 โทรสาร.055-267234 e-Mail : sec39pl@hotmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ] ©พัฒนาโปรแกรมโดย ดร.อภิวัฒน์ กันศรีเวียง V2.2565