ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 616 วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 2714 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 1 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


รายงานผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice ด้านทักษะอาชีพ บายศรีสู่ขวัญ

      โรงเรียนชุมแสงสงคราม “อุดรคณารักษ์อุปถัมภ์” ได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในคาบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกวันพุธ และสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้สอนการทำบายศรี เป็นภูมิปัญญาไทยมาแต่โบราณ

      พิธีบายศรีสู่ขวัญ บางครั้งก็เรียกว่า พิธีบายศรี, พิธีสู่ขวัญ, พิธีทำขวัญ, พิธีรับขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทย และคนลาว ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งนามธรรมอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไปให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท ประเพณีบายศรีสู่ขวัญใช้เครื่องเชิญขวัญที่เรียกว่า บายศรี ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญ (ไข่ต้ม) เสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายประเภท เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ (ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ) มีการพันสายสิญจน์ไว้โดยรอบเพื่อใช้ผูกข้อมือผู้รับขวัญ ผู้นำทำพิธีเรียกว่า หมอขวัญ

      บายศรีนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคติความเชื่อของพราหมณ์พิจารณาจากการนำใบตองมาประดิษฐ์บายศรี เนื่องด้วยใบตองนั้นเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทินของอาหารเก่าให้แปดเปื้อน และอีกประการหนึ่งก็คือ รูปร่างลักษณะของบายศรีที่ได้จำลองเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร ตลอดจนเครื่องสังเวยก็มีความเชื่อมาจากคติพราหมณ์เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิม และพิธีการต่างๆ เหล่านี้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น (ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki)

      เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ ทางโรงเรียนจึงได้เปิดสอนการประดิษฐ์บายศรีให้กับนักเรียน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของนักเรียน การทำพานบายศรีนักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญ และปลูกฝังคุณค่าของภูมิปัญญาไทย ความนิยมไทย และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ตลอดจนคุณค่าของความเป็นไทย จากการเรียนรู้ นักเรียนสามารถปฏิบัติบายศรีสู่ขวัญได้ตามรูปแบบได้ถูกต้อง สวยงาม จนเป็นที่ยอมรับของชุมชน และสถานศึกษา

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
ดร.ลภัสรดา จูเมฆา
ชุมแสงสงคราม

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
ถนนเลิี่ยงเมืองพิษณุโลก-สุโขทัย ต.ท่าทอง จ.พิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ 65000
โทร.055-267235 โทรสาร.055-267234 e-Mail : sec39pl@hotmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ] ©พัฒนาโปรแกรมโดย ดร.อภิวัฒน์ กันศรีเวียง V2.2565