[เข้าสู่ระบบ]
จำนวนผู้ใช้งาน 133 ท่าน จำนวนผู้เข้าชม 429543  ครั้ง








วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2557
ส่งข่าวโดย: ศูนย์ประสานงาน สพม.39 จังหวัดอุตรดิตถ์
หัวข้อข่าว : การประชุมปฏิบัติการ การออกข้อสอบตามแนว PISA

          เมื่อวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2557 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี ได้จัดประชุมปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการออกข้อสอบ PISA โดยประชาสัมพันธ์ให้กับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ที่มีความสนใจ เข้าร่วมประชุมปฏิบัติกับครูคณิตศาสตร์ด้วย ในครั้งนี้ด้วย ในการประชุมครั้งนี้ ได้เชิญวิทยากรจากสพม.39 คือ นางสาวพิสมร วัยวุฒิ ศึกษานิเทศก์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับการอ่านรู้เรื่องและเสื่อสารได้ (Literacy) ตามแนว PISA เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินสมรรถนะ ที่เรียกว่า Literacy ใน 3 ด้าน คือด้านการอ่าน (Reading Literacy) ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ซึ่งการวัดความรู้ทั้ง 3 ด้าน แต่จะเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่งในการประเมินแต่ละระยะ โดยแบ่งการประเมินเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 (Phase I: PISA 2000 PISA 2003 และ PISA 2006) และรอบที่ 2 (Phase II: PISA 2009 PISA 2012 และ PISA 2015) กล่าวคือ การประเมินผลระยะที่ 1 (PISA 2000 และ PISA 2009) เน้นด้านการอ่าน ให้น้ำหนักข้อสอบด้านการอ่าน 60% และที่เหลือเป็นด้าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างละ 20% การประเมินผลระยะที่ 2 (PISA 2003 และ PISA 2012) เน้นด้านคณิตศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านคณิตศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์อย่างละ 20% การประเมินผลระยะที่ 3 (PISA 2006 และ PISA 2015) เน้นด้านวิทยาศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านวิทยาศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและคณิตศาสตร์อย่างละ 20% ทั้งนี้ ในแต่ละทักษะ ไม่ได้เน้นเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ การคิดเลขเป็น แต่ สิ่งที่ PISA เน้นคือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของโจทย์ที่ซับซ้อนได้ ในการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ ครูทุกคนได้ฝึกปฏิบัติการอ่านและ การออกข้อสอบตามแนว PISA ใน 4 รูปแบบ คือ 1 แบบเลือกตอบ 2 แบเชิงซ้อน 3 แบบปิด 4 แบบเปิด โดยเน้นกระบวนการอ่านเพื่อการเรียนรู้ตามแนว PISA ซึ่งมีความหมาย มากกว่าการอ่านเพื่อเข้าใจตามกลยุทธ์ ต่อไปนี้ . 1. การค้นสาระ (Retrieving Information) เป็นความสามารถติดตามความหมายที่สกัดเอา สาระ ของสิ่งที่อ่านออกมาได้ 2. การตีความ (Interpretation) เป็นความเข้าใจข้อความที่ได้อ่าน สามารถตีความ แปลความ สิ่งที่อ่านได้ คิดวิเคราะห์เนื้อหาและรูปแบบของข้อความที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆในชีวิตจริงและในลก 3. การวิเคราะห์ (Reflection and Evaluation ) เป็นความเข้าใจข้อความที่อ่าน สามารถตีความ แปลความ วิเคราะห์เนื้อหาสิ่งที่อ่านแล้วประเมินข้อความที่อ่าน แสดงความคิดเห็น โต้แย้งได้ด้วยความคิดตนเอง

[เครือข่าย e-network] [เครือข่าย e-news] [ปิดหน้าจอนี้ ปิดหน้าจอนี้]
งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
ถนนเลี่ยงเมือง พิษณุโลก-สุโขทัย ต.ท่าทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ 65000
โทร.055-267235 โทรสาร.055-267234 sec.plkutt@gmail.com