ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 2624 วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 23 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 4 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


รายงานการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

      รายงานการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ Project evaluation report adopting the philosophy of Sufficiency Economy at Mueangchanwitthayakhom School, Mueangchan District, Sisaket Province อุดม ยกพล Udom Yokphon บทสรุปสำหรับผู้บริหาร รายงานการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบท 2) เพื่อประเมินปัจจัย 3) เพื่อประเมินกระบวนการ 4) เพื่อประเมินผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 30 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียน จำนวน 305 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 305 คนรวมทั้งสิ้น 660 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินได้แก่ แบบสอบถาม 1 ชุด โดยมีทั้งหมด 5 ตอน ตอนที่ 1 ใช้สำหรับสอบถามผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ตอนที่ 2 ใช้สำหรับสอบถามผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอนที่ 3 ใช้สำหรับสอบถามผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอนที่ 4 ใช้สำหรับสอบถามผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตอนที่ 5 ใช้สำหรับสอบถาม ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการในภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับระดับมาก พบว่า ผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 12 สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สอดคล้องกับนโยบายของแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560 – 2579 และสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและชุมชน 2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับระดับมาก แสดงให้เห็นว่า ผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ว่ามีความพร้อมในการดำเนินงานของผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการ การบริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความสามารถในการดำเนินโครงการ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเพียงพอ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ มีคู่มือดำเนินโครงการ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจกรรมมีเพียงพอและระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม คำสำคัญ: การประเมินโครงการ, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม องค์การบริหารส่านจังหวัดศรีสะเกษ Director of Mueangchanwitthayakhom School, Sisaket Provincial Administrative Organization Udyokpol1@gmail.com(อีเมล์ ผอ.อุดม ยกพล) EXECUTIVE SUMMARY Project evaluation report adopting the philosophy of Sufficiency Economy at Mueangchanwitthayakhom School, Mueangchan District, Sisaket Province. The purpose are 1) to evaluate the context 2) to evaluate factors 3) to evaluate processes 4) to evaluate outputs. Using the CIPP Model project evaluation model. The population used included 5 community leaders, 30 teachers and educational personnel, 15 Basic Education Commission, 305 students, 305 parents, a total of 660 people. The tool used for evaluation is a questionnaire, with a total of 5 sections. Part 1 is used to ask community leaders. Teachers and educational personnel, Basic Education Commission, students and parents. Part 2,3,4 is used for asking community leaders, teachers and educational personnel, Basic Education Commission and part 5 is used for asking teachers and educational personnel, Basic Education Commission, students and parents. Data was analyzed by means and standard deviation. The evaluation results are summarized as follows. 1. Results of the overall project context assessment It is appropriate at a high level. It was found that the opinion of community leaders, teachers and educational personnel, Basic Education Commission about the objective of the project adopting the philosophy of Sufficiency Economy at Mueangchanwitthayakhom School, Mueangchan District, Sisaket Province is consistent with the The 13th National Economic and Social Development Plan, Consistent with the National Education Act of 1999, consistent with the policies of the National Education Plan 2017 - 2036, and consistent with the needs of schools and communities. 2. Results of the evaluation of preliminary factors of the project Overall, it is appropriate at a high level. It shows that the opinions of community leaders, teachers and educational personnel, Basic Education Commission about appropriateness of the input factors of the project adopting the philosophy of Sufficiency Economy at Mueangchanwitthayakhom School, Mueangchan District, Sisaket Province, There is readiness to carry out the work of the administrators and teachers responsible for the project. The administration and teachers responsible for the project have the ability to carry out the project. Personnel to carry out the project are sufficient. Personnel to carry out the project are appropriate. The budget for the project is sufficient. There is a manual to carry out the project. The materials and equipment for carrying out the activities are sufficient and the duration of the project is appropriate. Keywords: Project evaluation, the philosophy of Sufficiency Economy

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
minny994523
โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
1115/23 ถ.ไกรสรสิทธิ์ ตำบลรอบเวียง จังหวัดเชียงราย
T.053601451 secondary36cripyo@gmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ]
©พัฒนาโปรแกรมโดย นายอภิวัฒน์ กันศรีเวียง