ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 2594 วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 21 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 3 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องพิกัดขอบฟ้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาดาราศาสตร์และภูมิอากาศโลก

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)โดยการประยุกต์ใช้โมบายแอปพลิเคชันวิชาดาราศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยการประยุกต์ใช้โมบายแอปพลิเคชัน วิชาดาราศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ (IOC=1), แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน (𝑥̅= 4.94, S.D. = 0.58), แบบทดสอบ (ความเชื่อมั่น = 0.80) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ จำนวน 42 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent t-test) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผลการเรียนรู้หลังเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยการประยุกต์ใช้โมบายแอปพลิเคชัน วิชาดาราศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      ผลการจัดการเรียนรู้ ด้านความรู้ (K) จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนทั้งหมด 42 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สามารถอธิบายวิธีการระบุตำแหน่งวัตถุท้องฟ้าตามระบบพิกัดขอบฟ้า เมื่อผู้สังเกตอยู่ที่ละติจูดแตกต่างกัน ได้ถูกต้อง ผ่านการนำเสนองาน โดยพบว่านักเรียนจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 29 มี ผลการประเมินการนำเสนองานอยู่ในระดับดี และมีนักเรียนจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 71 มีผลการนำเสนองานในระดับดีมาก นักเรียนทั้งหมดจำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สามารถประโยชน์และความสำคัญของการระบุตำแหน่งวัตถุท้องฟ้าตามระบบพิกัดขอบฟ้าได้ถูกต้อง ผ่านการตอบคำถามสะท้อนคิดและการแสดงความคิดเห็นของนักเรียนผ่านแอพพลิเคชั่น Padlet ด้านทักษะกระบวนการ (P) จากการตรวจสอบชิ้นงานแบบจำลองทรงฟ้า พบนักเรียนทั้งหมดจำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 93 สามารถสร้างแบบจำลองทรงกลมฟ้า ของผู้สังเกตจำนวน 3 ชุด ที่ละติจูดต่างกันได้แก่ ศูนย์สูตร, ละติจูด 45 องศาเหนือ และละติจูด 45 องศาใต้ได้อย่างถูกต้องโดยผลการประเมินชิ้นงานอยู่ในระดับดีมาก ด้านเจตคติ (A) จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนทั้งหมด 42 คน คิดเป็นร้อยละ 100 แสดงออกถึงการใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ อยู่ในเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป โดยพบว่าพบว่านักเรียนจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 31 มี ผลการประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดี และนักเรียนจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 69 มี ผลการประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้

      จากผลการประเมินการนำเสนอผลงาน วิชาดาราศาสตร์และภูมิอากาศโลก รหัสวิชา ว30261 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 เรื่อง พิกัดขอบฟ้า พบว่านักเรียนจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 29 มี ผลการประเมินการนำเสนอผลงาน อยู่ในระดับดี และมีนักเรียนจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 71 มีผลการนำเสนอผลงานในระดับดีมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินการนำเสนอผลงาน

      จากผลการประเมินการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รายวิชาดาราศาสตร์และภูมิอากาศโลก รหัสวิชา ว30261 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ทรงกลมฟ้า แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พิกัดขอบฟ้า พบว่านักเรียนจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 31 มี ผลการประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดี และนักเรียนจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 69 มี ผลการประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้

      จากผลการประเมินชิ้นงาน (ทรงกลมฟ้า) วิชาดาราศาสตร์และภูมิอากาศโลก รหัสวิชา ว30261 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 ส่งชิ้นงานครบทั้ง 42 คน โดยพบว่านักเรียนจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 7 มี ผลการประเมินชิ้นงานอยู่ในระดับดี และนักเรียนจำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 93 มี ผลการประเมินชิ้นงานอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินชิ้นงาน

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
นายเอกลักษณ์ ผ่องใส
เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
1115/23 ถ.ไกรสรสิทธิ์ ตำบลรอบเวียง จังหวัดเชียงราย
T.053601451 secondary36cripyo@gmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ]
©พัฒนาโปรแกรมโดย นายอภิวัฒน์ กันศรีเวียง