ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 2551 วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2565
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 110 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 1 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


รายงานการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

      รายงานการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนบ้าน สันกอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยใช้การประเมินเชิงระบบแบบ CIPPIEST Model ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสันกอง ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ 2) เปรียบเทียบคะแนนจากการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการดำเนินการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสันกอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยใช้การประเมินเชิงระบบแบบ CIPPIEST Model และ3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครูบุคลากรในโรงเรียน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสันกอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 การประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบผสมผสาน (Mixed Evaluation) แบบเชิงคุณภาพ และแบบเชิงปริมาณ โดยใช้แบบจำลอง CIPPIEST Model กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แก่ ครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 15 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 229 คน ผู้ปกครองนักเรียน 229 คน (อัตราส่วน 1:1) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คนผู้นำชุมชน จำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 1 คน ครูตำรวจโครงการ D.A.R.E. จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 486 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็นจากสูตร PNIMODIFIED (Priority Needs Index) การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test สรุปผลการประเมินได้ดังนี้

      1.ผลการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียน บ้านสันกอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 พบว่า สภาพปัจจุบันในภาพรวมมีความคิดเห็นระดับมาก ( u = 3.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้าน มีความคิดเห็นในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นต่อสภาพที่พึงประสงค์ของโครงการฯ ในภาพรวมมีความคิดเห็นระดับมาก ( u = 4.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ส่วนด้านปัจจัยนำเข้า ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ มีความคิดเห็นในระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Need Assessment) โดยนำข้อมูลผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ มาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index) แล้วมาเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ (1) ด้านผลกระทบ (2) ด้านความยั่งยืน (3) ด้านประสิทธิผล (4) ด้านบริบท (5) ด้านกระบวนการ (6) ด้านผลผลิต (7) ด้านปัจจัยนำเข้า และ (8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์การประเมินระหว่างการดำเนินงานการประเมินโครงการฯ ตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับแรก ได้แก่ โรงเรียนจัดทำแผน/โครงการปฏิบัติการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม (u = 4.86) รองลงมาคือ โรงเรียนได้ส่งเสริมการสร้างวินับเชิงบวกในโรงเรียน (u = 4.82) มีการฝึกอบรมครู ผู้ปกครองให้ดูแลนักเรียนโดยให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติตนให้พ้นจากยาเสพติด (u = 4.82) โรงเรียนประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ยาเสพติดในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา ขจัดปัจจัยเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง มุมอับต่างๆ ที่เอื้อต่อการใช้สารเสพติดในโรงเรียน (u = 4.82) และโรงเรียนประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครูตำรวจ โครงการ D.A.R.E. มาให้ความรู้แก่นักเรียน (u = 4.82) ตามลำดับ

      การประเมินผลหลังการดำเนินงานการประเมินโครงการฯ พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีความคิดเห็นในระดับมากจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท และด้านความยั่งยืน ส่วนด้านอื่นนอกจากนี้มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (2) ด้านประสิทธิผล (3) ด้านปัจจัยนำเข้า และ ด้านผลกระทบ ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนหลังการดำเนินงานการประเมินโครงการฯ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านประสิทธิผล (u = 4.82) รองลงมาคือ ด้านผลกระทบ (u = 4.64) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (u = 4.61) ด้านผลผลิต (u = 4.54) และด้านความยั่งยืน (u = 4.38) ตามลำดับ

      ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนหลังการดำเนินงานการประเมินโครงการฯ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ทั้งโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้ดังนี้ ด้านความยั่งยืน (u = 4.94) ด้านประสิทธิผล (u = 4.70) ด้านผลผลิต (u = 4.54) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (u = 4.48) และ (5) ด้านผลกระทบ (u = 4.47) ตามลำดับ ผลการสังเกตการปฏิบัติตามการดำเนินงานโครงการฯ จากการสังเกตของครูประจำชั้น อยู่ในระดับมาก (u = 4.17) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (u = 4.36) ด้านความยั่งยืน(u = 4.20) ผลผลิต (u = 4.16) ด้านผลกระทบ (u = 4.11) และด้านประสิทธิผล (u = 4.08) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนจากการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการดำเนินการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสันกอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนเรื่อง “การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 106 คน โดยรวมผลการเรียนก่อนเรียนได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 51.13 หลังเรียนได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 87.36 เมื่อจำแนกเป็นชั้นเรียนปรากฏว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลการเรียนหลังเรียนสูงสุด ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 87.81 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 87.27 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 87.00 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ความเข้าใจการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในภาพรวมหลังและก่อนดำเนินงานโครงการของนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนด้านความรู้ความเข้าใจการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาพรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      3. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครูบุคลากรในโรงเรียน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสันกอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จากการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการฯ ระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสันกอง โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (u = 4.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 5 ข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ โครงการฯทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน (u = 4.74) รองลงมาคือ ชุมชนร่วมรณรงค์ “การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” กับโรงเรียนในทุกสถานที่ (u = 4.73) โรงเรียนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ“การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (u = 4.67) มีการจัดสรรงบประมาณ ในการจัดกิจกรรมต่างๆอย่างเพียงพอ และโรงเรียนจัดสรรวัสดุในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการฯ เพียงพอ(u = 4.62) ตามลำดับ

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
พันธ์ทิภา สร้างช้าง
บ้านสันกอง

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
1115/23 ถ.ไกรสรสิทธิ์ ตำบลรอบเวียง จังหวัดเชียงราย
T.053601451 secondary36cripyo@gmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ]
©พัฒนาโปรแกรมโดย นายอภิวัฒน์ กันศรีเวียง