ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 2561 วันพุธที่ 28 กันยายน 2565
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 42 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 1 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


รายงานประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 กรณีศึกษา : โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์)

      รายงานการประเมินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมและบริบทของโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 2) ประเมินความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 3) ประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และ 4) ประเมินความเหมาะสมของผลผลิตของโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมของ โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยใช้กระบวนการวัดและประเมินด้วยวิธีการเชิงระบบ (System Approach) ในรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) แหล่งข้อมูลประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรวม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูการศึกษาพิเศษ ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ และครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม รวมจำนวนทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

      ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูการศึกษาพิเศษ ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ และครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณา-นุเคราะห์) จำนวนทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่สร้างตามกรอบแนวคิดของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .95 จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบกำหนดคำตอบให้เลือก (Multiple Choices) ตอนที่ 2 สภาพแวดล้อมและบริบททั่วไป ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต ของโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

      ผลการประเมินพบว่า 1. สภาพแวดล้อมและบริบททั่วไปของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนเรียนรวม สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ รองลงมาได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน ตามลำดับ 2. ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการประเมินตามเกณฑ์ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ ด้านงบประมาณ ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การใช้งบประมาณ ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ รองลงมาได้แก่ การใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการมีความคุ้มค่าและและงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ ตามลำดับ ด้านสื่อวัสดุ อุปกรณ์ ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการอย่างคุ้มค่า รองลงมาได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนานักเรียนเรียนรวมมีคุณภาพดี และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโครงการมีความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ตามลำดับ ด้านการบริหารจัดการ มีการแจ้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการให้คณะครูในโรงเรียนทราบอย่างชัดเจนและทั่วถึง รองลงมาได้แก่ มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และมีการดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 3. กระบวนการดำเนินงานของโครงการตามโครงสรhางซีต (SEAT Frameworks) มีความคิดเห็นในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ปรากฏว่า ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมิน แยกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ ด้านนักเรียน (S – Students) ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ มีการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนเรียนรวม ด้านการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน รองลงมาได้แก่ มีการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนเรียนรวม โดยกระตุ้นพัฒนาการในส่วนที่เหลืออยู่ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และมีการเตรียมทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพื่อให้นักเรียนเรียนรวม สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด ตลอดจนอยู่ร่วมกับนักเรียนทั่วไปได้อย่างปกติสุข ด้านสิ่งแวดล้อม (E – Environment) ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ครูทั่วไปและครูการจัดการศึกษาพิเศษเป็นที่ปรึกษาซึ่งกันและกัน มีความร่วมมือการจัดการเรียนรวมโดยการทำงานเป็นทีม รองลงมาได้แก่ มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรวมแก่ ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง และมีการปรับสภาพแวดล้อมนอกอาคาร ได้แก่ ตัวอาคาร ทางเข้า ทางข้าม ต้นไม้ เป็นต้น ให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนเรียนรวม ตามลำดับ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (A – Activities) ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) รองลงมาได้แก่ โรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียน คัดกรองนักเรียนตามประเภทความต้องการจำเป็นพิเศษ และส่งต่อนักเรียนเข้ารับการศึกษาตามความสามารถ และความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล และมีการจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ตามลำดับ ด้านเครื่องมือ (T – Tools) ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนโดยครูการศึกษาพิเศษ หรือผู้ที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่กระทรวงกำหนด รองลงมาได้แก่ มีการแจ้งข้อมูลเพื่อรับการจัดสรรคูปองการศึกษาได้อย่างครบถ้วนตามความจำเป็นของนักเรียนเรียนรวม และมีการกำหนดนโยบายเพื่อกำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานและการให้บริการที่ชัดเจน ตามลำดับ 4. ผลผลิตของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการประเมินตามเกณฑ์ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ ด้านความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนรวมของผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเพิ่มขึ้น รองลงมาได้แก่ ครูผู้สอนสามารถดูแลช่วยเหลือ และเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับนักเรียนเรียนรวมได้อย่างมีคุณภาพ และครูผู้สอนมีทักษะในการสื่อสารกับนักเรียนเรียนรวมได้ดีขึ้นตามลำดับ ด้านด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรียนรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรียนรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ ยกเว้น นักเรียนเรียนรวมได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบตามหลักสูตรตามศักยภาพของแต่ละบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยผลการประเมินจากมากไปน้อย ดังนี้ นักเรียนเรียนรวมมีพัฒนาการดีขึ้นตามศักยภาพของแต่ละบุคคล นักเรียนเรียนรวมมีผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เรียน และนักเรียนรวมมีการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณดีขึ้น ตามลำดับ

      ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะทั่วไป 1) อยากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ หรือหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กที่ความต้องการพิเศษ 2) โรงเรียนควรประสานกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเชียงราย ในการคัดกรองนักเรียนเพื่อความถูกต้องแม่นยำ 3) หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม และให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างชัดเจน 4) หน่วยงานต้นสังกัด ควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้รับในปัจจุบันและจากงบประมาณของโรงเรียนซึ่งยังไม่เพียงพอ ตลอดจนจัดหาครูพี่เลี้ยง และอุปกรณ์ช่วยเหลือสนับสนุนต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่มีความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และมีจำนวนเพียงพอ 5) โรงเรียนควรเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ประสานงานกับชุมชนและหน่วยงาน องค์กรอื่นๆ เพื่อแสวงหางบประมาณสำหรับใช้จ่ายในการจัดการเรียนรวมเพิ่มเติมจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานต้นสังกัด 6) ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการประสานงานกับผู้บริหารสถานศึกษาดีอยู่แล้ว ควรมีการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในการให้การดูแลเด็กและให้คำแนะนำปรึกษาแก่ครูผู้เกี่ยวข้อง 7) มีการจัดสถานที่ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อนักเรียนที่ความต้องการพิเศษดีอยู่แล้ว ควรดำเนินการปรับปรุง ดูแลรักษาให้ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับความบกพร่องของนักเรียนแต่ละประเภท 8) โรงเรียนควรจัดการประชุมให้ความรู้กับผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทอย่างต่อเนื่องโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป 1) ควรมีการประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โดยเปรียบเทียบกับทุกโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และต่างเขตพื้นที่การศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนเรียนรวม 2) ควรมีการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้รับผิดชอบโครงการ ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการและครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม ทั้งในโรงเรียนและกับโรงเรียนอื่นที่จัดการเรียนการสอนเรียนรวม 3) ควรมีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินโครงการโรงเรียนต้นแบบการ เรียนรวมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากที่สุด

       คลิกดาวน์โหลดดูเอกสารประกอบ.....

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
กิตติพงศ์ มงคลคำ
อนุบาลเมืองเชียงราย

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
1115/23 ถ.ไกรสรสิทธิ์ ตำบลรอบเวียง จังหวัดเชียงราย
T.053601451 secondary36cripyo@gmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ]
©พัฒนาโปรแกรมโดย นายอภิวัฒน์ กันศรีเวียง