ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 2511 วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 16 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 1 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

      บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาสาระในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง 2560) สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สิ่งมีชีวิต-สิ่งไม่มีชีวิต การดำเนินการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) สภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา ผู้วิจัยได้สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดแก้ปัญหา ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเชิงนโยบายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการคิดแก้ปัญหา วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังเคราะห์แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการสอน การคิดแก้ปัญหา และทฤษฎีการเรียนรู้ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน ขั้นตอน ที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D & D) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา ผู้วิจัยได้พัฒนาและหาคุณภาพ ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาเป็นโครงร่างรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนารูปแบบและด้านการสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 คน ตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบการสอนและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบถามความพึงพอใจ แล้วนำไปทดลองใช้ (Tryout) กับกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้และหาประสิทธิภาพ ก่อนนำไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการสอน ในขั้นนี้ผู้วิจัยนำร่างรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One – Group Pretest – Postest Design) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) เป็นการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการการคิดแก้ปัญหา การดำเนินการวิจัยในขั้นตอนนี้เป็นการนำผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ ทักษะการคิดแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน รวมทั้งความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน โดยกลุ่มตัวอย่างของขั้นตอนที่ 3 และขั้นตอนที่ 4 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 47 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t – test dependent samples) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพบริบทปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.89 , S.D = .06) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านครูผู้สอนอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.76 , S.D = .16) และด้านการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.95 , S.D = .11) และด้านความต้องการครูมีความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.60 , S.D = .12) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.67,S.D = .17) และด้านการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.57 , S.D = .14) 2. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบ ประกอบด้วยขั้นตอน การจัดกิจกรรม 6 ขั้น (EPACEE Model) คือ ขั้นที่ 1 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation : E) ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation : P) ขั้นที่ 3 ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Action : A) 3.1 ขั้นระบุปัญหา 3.2 ขั้นระบุสาเหตุของปัญหา 3.3 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินผลข้อมูล 3.4 ขั้นระบุทางเลือกในการแก้ปัญหาและประเมินทางเลือก 3.5 ขั้นตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) ขั้นที่ 5 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation : E) ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ 5) การประเมินผลรูปแบบ รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.02/82.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่ 80/80 3. ผลการใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.53 , S.D = 0.12)

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
ศิริลักษณ์ ทองศรีนุ่น
เทศบาล๕

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
1115/23 ถ.ไกรสรสิทธิ์ ตำบลรอบเวียง จังหวัดเชียงราย
T.053601451 secondary36cripyo@gmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ]
©พัฒนาโปรแกรมโดย นายอภิวัฒน์ กันศรีเวียง