ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 2609 วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 5 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 3 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนประโยค จากภาพโดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง

      ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนประโยค จากภาพโดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง ผู้วิจัย นงลักษณ์ หมีคณะ ปีการศึกษา 2566

      การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนประโยคจากภาพโดยใช้สมองเป็นฐาน 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนประโยคจากภาพโดยใช้สมองเป็นฐาน 4) ประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนประโยคจากภาพโดยใช้สมองเป็นฐาน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 3 เป็นการศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และระยะที่ 4 เป็นการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนประโยคจากภาพโดยใช้สมองเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที แบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยสรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้

      1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง พบว่า ครูยังคงเน้น การบรรยายเนื้อหาเป็นหลัก ขาดการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเรียน ไม่มีรูปแบบ เทคนิค วิธีการสอน และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ กิจกรรมไม่น่าสนใจ สื่อและเทคโนโลยี การเรียนรู้ มีน้อย ไม่เพียงพอ ไม่น่าสนใจ ครูขาดการบูรณาการเรียนรู้กับศาสตร์อื่น ๆ ที่ใกล้ตัวและจัดกิจกรรม ที่ไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของนักเรียน นักเรียนมีความหลากหลายและแตกต่างกัน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนไม่เพียงพอ นักเรียนไม่ตั้งใจเรียนขาดเรียนบ่อย ขาดความสามารถด้านกระบวนการเขียน ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจใฝ่รู้ 2. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนประโยคจากภาพโดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นผ่อนคลาย ขยายสมอง (Relax) 2) ขั้นพาตรึกตองซ้ำ เพื่อย้ำทบทวน (Repeat) 3) ขั้นเร่งชี้ชวน เติมความรู้ใหม่ (rebuild) 4) ขั้นแบ่งปันความรู้ จากเพื่อนสู่เพื่อน (Ready to share) 5) ขั้นสาระที่ได้จากกระบวนการกลุ่ม (Reason) และ 6) ขั้นผลลัพธ์ที่ได้มุ่งสู่การประเมิน (Result) โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.54/83.71 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนประโยคจากภาพโดยใช้สมองเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนประโยคจากภาพโดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55

       คลิกดาวน์โหลดดูเอกสารประกอบ.....

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
นงลักษณ์ หมีคณะ
ชุมชนบ้านช่างเคิ่ง

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
1115/23 ถ.ไกรสรสิทธิ์ ตำบลรอบเวียง จังหวัดเชียงราย
T.053601451 secondary36cripyo@gmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ]
©พัฒนาโปรแกรมโดย นายอภิวัฒน์ กันศรีเวียง