ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 2600 วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 14 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 2 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


รายงานการประเมินโครงการพัฒนานักเรียน ตามรอยพ่อ น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนเมืองสมเด็จ โดยใช้การประเมิน CIPPI MODEL

      รายงานประเมินโครงการนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาผลการประเมินโครงการพัฒนานักเรียน ตามรอยพ่อ น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่โรงเรียนเมืองสมเด็จ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลกระทบ โดยใช้ การประเมิน CIPPI Model 2. เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาโครงการ โดยกลุ่มตัวอย่างในการประเมิน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 37 คน นักเรียน จำนวน 217 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 217 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ในปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่เก็บข้อมูลมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับประเมินด้านบริบท ฉบับที่ 2 สำหรับประเมินปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 สำหรับประเมินกระบวนการ ฉบับที่ 4 สำหรับประเมินผลผลิต ฉบับที่ 5 สำหรับประเมินความพึงพอใจ และฉบับที่ 6 สำหรับประเมินผลกระทบและแบบทดสอบ วัดความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. ด้านบริบท พบว่า มีความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือโครงการมีความจำเป็นและสำคัญต่อการดำเนินงานของโรงเรียนโดยได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการของโรงเรียน รองลงมาคือ กิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ มีความชัดเจน และสอดคล้องกับวัตถุประสงคของโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ โครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. ด้านปัจจัยนำเข้าเข้า พบว่า 2.1 ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหารและครูผุ้รับผิดชอบโครงการมีความพร้อมในการดำเนินโครงการและบุคลากรในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ รองลงมาคือระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ควรปรับปรุงคือ มีคู่มือดำเนินโครงการ วัสดุ อุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีเพียงพอ 2.2 ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าจากผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนเข้าร่วมโครงการโดยการทดสอบความรู้ก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.86 คะแนน 3. ด้านกระบวนการ พบว่า ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การวางแผนการดำเนินโครงการสู่่การปฏิบัติ รองลงมาคือจัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ และผู้บริหารมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ควรปรับปรุงคือโรงเรียนมีการขยายผล/เผยแพร่ลงสู่ชุมชน 4. ด้านผลผลิต พบว่า 4.1 ผลการเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังดําเนินโครงการมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ 4.2 ผลการประเมินผลผลิตของ 10 กิจกรรมในภาพรวมผลการประเมินผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด 5. ผลการประเมินผลกระทบ 1 การประเมินผลกระทบที่เกิดจากโครงการ พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สามารถเลือกแนวทางและการปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม รองลงมาคือสามารถนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ในการทํางานและส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือสามารถนําไปประยุกต์ใชในการปฏิบัติตนให้มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 5.2 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 6. แนวทางพัฒนาโครงการ พบว่า ข้อเสนอแนะด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านบุคลากร มีบุคลากรบางท่านที่ย้ายมาใหม่ โรงเรียนควรจะให้การอบรมและให้ความรู้เพิ่มเติมถึงแนวทางการดำเนินการของโครงการ ด้านงบประมาณ ให้โรงเรียนสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานเพื่อของบประมาณมาสนับสนุนโครงการให้เพิ่มมากขึ้น จะได้เพิ่มกิจกรรมให้มากขึ้น ด้านวัสดุ อุปกรณ์ ควรมีการปรับปรุงให้มีความพร้อมต่อการใช้งาน ด้านกระบวนการของโครงการ อยากให้ดำเนินโครงการต่อคิดเป็นร้อยละ 100 ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น กิจกรรมในโครงการอยากให้มีการจัดทำคู่มือเป็นเอกสารให้บุคคลผู้มีส่วนร่วมทุกคน และคู่มือต้องมีขั้นตอนในการอธิบาย ใหน้อยแต่เน้นให้เข้าใจง่ายสอน ด้านผลผลิตของโครงการ แต่ละกิจกรรมควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ให้มากที่สุดและควรคิดหากิจกรรมเพิ่มขึ้นอีก ด้านผลกระทบของโครงการ โรงเรียนควรให้นักเรียน นำความรู้ที่ได้ไปขยายผลและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้มาก และควรให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญในการเอาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สรุปได้ว่า โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจึงสมควรดำเนินการโครงการต่อเนื่องต่อไป

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
พายุ วรรัตน์
เมืองสมเด็จ

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
1115/23 ถ.ไกรสรสิทธิ์ ตำบลรอบเวียง จังหวัดเชียงราย
T.053601451 secondary36cripyo@gmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ]
©พัฒนาโปรแกรมโดย นายอภิวัฒน์ กันศรีเวียง