ระบบกำลังทำการเรียกข้อมูล โปรดรอสักครู่ ....















 


ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 2481 วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2562
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 13 ท่าน ผู้ชมขณะนี้ 1 ท่าน

คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ


การพัฒนารูปแบบการสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

      การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินหาคุณภาพของรูปแบบ การสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ดำเนินการวิจัยเป็นแบบวิจัยและพัฒนา มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการสอนและศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ทำการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบแผนการวิจัยเป็นแบบทดลองแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Randomized control group pretest-posttest design) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (OneWayANOVA) การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่อิสระต่อกัน (t-testindependent) การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่อิสระต่อกัน (t-test dependent) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One Way ANCOVA)

      ผลการวิจัยพบว่า

      1) รูปแบบการสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่แนวคิดของรูปแบบ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล โดยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบไปด้วย ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์กระบวนการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 วางแผนแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ลงมือแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 สรุปผลการแก้ปัญหา

      2) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่มีพื้นฐานทางการเรียนต่างกัน มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติและมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และนักเรียนที่ เรียนด้วยการสอนแบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      

ผลงานโดย :
คลิดูภาพขนาดใหญ่
มาลัย สุดนิมิตร
โรงเรียนเทศบาลวัดประทุมคณาวาส (นิพัทธ์หริณสูตร์)

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
1115/23 ถ.ไกรสรสิทธิ์ ตำบลรอบเวียง จังหวัดเชียงราย
T.053601451 secondary36cripyo@gmail.com

[ คลิกที่นี่เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ]
©พัฒนาโปรแกรมโดย นายอภิวัฒน์ กันศรีเวียง